คุณณัฐธิดา เย็นบำรุง นักวิจัยของสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการ เรื่อง "พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีน" (The Development of Thai - Lao Economic Relations and Geopolitical and Geo-economic Transformation in Indochina)
ในงานสัมมนาทางวิชาการประจำปี เฉลิมพระเกียรติพลเอกหญิง ศ.เกียรติคุณ ดร.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “ไทยกับอินโดจีนสมัยประชาคมอาเซียน: มุมมองจากเอกสารหอจดหมายเหตุต่างประเทศของเพื่อนบ้านและชาติมหาอำนาจ และนักวิชาการ” เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 65 ณ ศูนย์การประชุมศรีโคตรบูรณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม จัดโดย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) , สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, มหาวิทยาลัยนครพนม
#ประเด็นสำคัญ พัฒนาเศรษฐกิจไทย-ลาว ในบริเวณหนองคายและเวียงจันทน์บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีน มีดังนี้
#1 ในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเฉพาะความสัมพันธ์ 2 ประเทศ แต่มีปัจจัยเกี่ยวข้องกับผู้เล่นที่เป็นมหาอำนาจจากภายนอกทั้งสิ้น การเคลื่อนไหวของมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ ล้วนมีผลกับเศรษฐกิจลาวและไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และจีนที่มีบทบาทอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน
#2 ในทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา พื้นที่ชายแดนไทย ลาว กลายเป็นพื้นที่ภูมิเศรษฐศาสตร์ของจีน (Geo-economics) จีนได้ใช้เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมไปถึงเรื่องวัฒนธรรม ผ่านความร่วมมือในโครงการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอำนาจทางการเมืองของตนเอง โดยจีนเลือกภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นภูมิภาคแรกๆ ที่จะเป็นที่ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของจีน เพราะเป็นพื้นที่ที่ใกล้ชิดจีน ภูมิภาคอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเสมือนเป็น “หลังบ้าน” ของจีน
#3 พื้นที่หนองคายและเวียงจันทน์ สะท้อนให้เห็นว่า “เมืองชายแดน” กลายเป็นเมืองสำคัญ ไม่ใช่เพียงพื้นที่ห่างไกลอย่างเคย ที่เต็มไปด้วยปัญหามากมาย แต่พื้นที่ชายแดนในปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นเมืองชั้นหนึ่ง เปลี่ยนบทบาทให้กลายตัวกลางอย่างดีในเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจระดับภูมิภาคให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น
#4 เขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาเศรษฐกิจระดับมหภาคครั้งนี้จะกระจายผลประโยชน์สู่เศรษฐกิจท้องถิ่น เศรษฐกิจระดับประชาชนได้มากน้อยเพียงใด
Comments