top of page

ยุทธศาสตร์ไทยต่อ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ OBOR ของจีน”

klangpanyath

บทความ/ เนื้อหาของสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้รับการเผยแพร่ ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ หลากหลายสำนัก เพื่อเผยแพร่ให้สู่สังคมวงกว้างมากยิ่งขึ้น





หมู่นี้หลายวงมาชวนให้คิดว่าไทยเราจะสนองตอบมหายุทธศาสตร์ของจีนที่เรียก One Belt One Road (OBOR) หรือ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ซึ่งในสายตาผมคือ ยุทธศาสตร์จีนในการสร้าง "เส้นทางสายไหม" ทางบกและทางทะเลขึ้นมาใหม่ อย่างไรดี ?


ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โพสต์บทความในเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง One Belt One Road หรือ ที่เรียกโดยย่อว่า OBOR นี้ คือยุทธศาสตร์ระดับโลกของจีน ในการเชื่อมโยงทางคมนาคมขนส่ง และร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจ การค้าการ และ ลงทุน ตลอดจนผูกความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และทางสังคม เข้ากับ เอเชียกลาง ยุโรป และอัฟริกา ทั้งทางบกและทางทะเล ขึ้นมาใหม่

กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จีนกำลังจะฟื้น "เส้นทางสายไหม" ขึ้นมาใหม่ ทั้งที่เป็นเส้นทางภาคพื้นทวีป (ทางบก) ที่เรียก One Belt และเส้นทางมหาสมุทร (ทางน้ำ) ที่เรียก One Roadให้เศรษฐกิจในแถบนี้ของโลกคึกคักเฟื่องฟู ในภาคพื้นทวีป เส้นทางสายไหม"ใหม่" หมายถึงการคมนาคมขนส่งและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่จะเชื่อมจีนเข้ากับเอเชียกลาง คอเคซัส รัสเซีย ยุโรปตะวันออก ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตก ส่วนเส้นทางสายไหมใหม่ทางทะเลจะอิงตามเส้นทางเรือที่ครั้งหนึ่งเชื่อมจีนเข้ากับเกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย กัมพูชา ไทย พม่า บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน ตะวันออกกลาง เข้าไปในทะเลแดง และจบลงที่ตุรกีและทะเลเมดิเตอเรเนียน หรือ อีกทางหนึ่ง ไปต่อในมหาสมุทรอินเดียเรื่อยๆ จนถึงชายทะเลด้านตะวันออกของทวีปอัฟริกา.....


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.isranews.org/isranews-article/55274-b180360-55274.html


ขอขอบคุณสำนักข่าวอิศรา มา ณ ที่นี้


ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentit


bottom of page