top of page
klangpanyath

โอกาส 7 ประการ: ไทยกับการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

บทความนี้แปลและเรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของบทความ Seven opportunities: Thailand and the One Belt, One Road initiative นำเสนอโดยฝ่ายวิจัยของ Pugnatorius Ltd. จากงานสัมมนาการวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 7


การริเริ่มแถบและเส้นทางของจีนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม มหายุทธศาสตร์นี้จะสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของไทย โอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจจะเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งรวมถึง 1. การสร้างถนน ทางรถไฟ และเทคโนโลยีทางน้ำ 2. พลังงาน (การผลิต การกระจาย และการกักเก็บ) 3. เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4. การขนส่งและโลจิสติกส์


ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการครอบงำจากบริษัทของจีนในโครงการระดับใหญ่ได้ Pugnatorius เห็นว่าโอกาสทั้ง 7 ประการของไทยนี้ควรถูกมองในฐานะโอกาสสำหรับบริษัทต่างชาติในการเข้าร่วมกับ OBOR ในประเทศไทยเช่นกัน


1. สนธิสัญญา OBOR ไทยเป็นหนึ่งใน 70 ประเทศที่เข้าร่วมโครงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค ผลทางเศรษฐกิจจากยุทธศาสตร์ BRI นี้จะทำให้ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้จาก Trans-Pacific Partnership (TPP) the Asia-Pacific trade Agreement (APTA) และสนธิสัญญาทางการค้าแบบพหุภาคีในลักษณะที่คล้ายกันดูด้อยลงไป


2. ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โครงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานระดับชาตินี้ได้รับอิทธิพลจากการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเป็นอย่างมาก สิทธิประโยชน์จากการเอื้อประโยชน์ทางกฎหมายต่อการลงทุนในพื้นที่ EEC จะช่วยขยายประโยชน์ที่ไทยจะได้จากโครงการต่าง ๆ ภายใต้ OBOR

3. เงินกู้ยืมจากจีน การลงทุนในไทยจะมาได้รูปแบบกองทุนขนาดใหญ่ที่ให้มาในลักษณะของการกู้ยืมจากธนาคารของรัฐและสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ของจีน


4. กฎหมายต่าง ๆ ของ OBOR ในความเป็นจริง การจะจัดการตราบทบัญญัติทางกฎหมายให้แตกต่างกันไปใน 70 ประเทศ เพื่อให้สอดรับโครงการขนาดยักษ์ของ OBOR ที่เกี่ยวพันกับเขตอำนาจทางกฎหมายเกือบ 70 เขตอำนาจนั้นเป็นเรื่องยาก แต่เราก็สามารถคาดหวังได้ว่า กรอบทางกฎหมายของ OBOR จะสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทยได้ กฎหมายของ OBOR ก็ดูเหมือนจะเปิดช่องให้การลงทุนจากต่างชาติ และปรับให้สามารถเข้ากันได้กับกฎหมายของจีนในปัจจุบัน

นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 จีนได้ตั้งศาลพาณิชย์ระหว่างประเทศ (China International Commercial Courts – CICC) ขึ้นมา 2 แห่ง เพื่อจัดการดูแลความเป็นธรรมเกี่ยวกับข้อพิพาทในเส้นทางสายไหมทั้งทางบก (มณฑลซีอานและมณฑลส่านซี) และทางทะเล (เสิ่นเจิ้นและบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไข่มุก ประกอบไปด้วย ฮ่องกง มาเก๊า และมณฑลกวางตุ้ง) ทำให้สัญญาเกี่ยวกับการก่อสร้างและการพัฒนาที่อยู่ภายใต้ร่มของ OBOR สามารถถูกส่งฟ้องร้องได้ตามขั้นตอนกฎหมายแพ่งของจีน


5. อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สนธิสัญญาต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้อาเซียน เช่น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเผชิญกับการปรับเปลี่ยน การฟื้นคืนให้มีความสำคัญมากขึ้น หรือแม้กระทั่งสูญเสียความสำคัญไปโดยสิ้นเชิง (จาก OBOR)


6. การเป็นศูนย์กลางการลงทุน ประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ ไทยต่างมีส่วนที่เชื่อมต่อกับเส้นทางของ Silk Road Economic Belt (SREB) และเส้นทางสายไหมทางทะเล (the Maritime Silk Road – MSR) ได้โดยตรงมากกว่าการเชื่อมต่อของไทยกับ BRI ซึ่ง Pugnatorius มองว่า นี่เป็นการเปิดโอกาสให้ไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ในฐานะศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


7. คลองคอคอดกระ โครงการขุดคลองผ่านคอคอดกระจะเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันเข้าด้วยกัน และจะเป็นอีกทางเลือกของการเดินเรืออีกเส้นทางหนึ่ง นอกเหนือจากเส้นทางผ่านแหลมมะละกา คลองคอคอดกระจะช่วยร่นระยะทางของเส้นทางสายไหมทางทะเลกว่า 1,200 กิโลเมตร และจะทำให้อิทธิพลของสิงคโปร์ที่มีต่อภูมิภาค

ลดลง

ชญานิษฐ์ เชิดธรรมธร แปลและเรียบเรียง กุมภาพันธ์ 2564

อ่านบทความฉบับเต็ม: https://pugnatorius.com/obor/

Comentarios


bottom of page