บทความ/ เนื้อหาของสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้รับการเผยแพร่ ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ หลากหลายสำนัก เพื่อเผยแพร่ให้สู่สังคมวงกว้างมากยิ่งขึ้น
เขียนโดย รศ.ดร.จำนง สรพิพัฒน์
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2016 ที่ผ่านมา BBC ได้เผยแพร่ข่าวที่สำคัญมากข่าวหนึ่งในวงการวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม [1] ข่าวดังกล่าวแจ้งว่า ในปีที่ผ่านมา จำนวนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะสร้างใหม่ทั่วโลกลดลงจากแผนที่วางไว้ในอัตราที่น่าตกใจ
คือลดลงไปราว 48% จากแผนการเดิมที่เคยวางไว้ และอีกราว 62% ถูกเลื่อนให้ล่าช้าออกไปจากแผนการเดิม สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายด้านพลังงานทั่วโลก โดยเฉพาะจากประเทศจีนและอินเดีย นับแต่ปี 2006 เป็นต้นมา จีนและอินเดียเป็นสองประเทศยักษ์ใหญ่ที่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่มากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นอัตราถึง 85% ของโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างใหม่ทั่วโลก จากรายงานของ Boom and Bust 2017 พบว่ามีการเปลี่ยนแผน ยกเลิกหรือเลื่อนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินออกไปอย่างมโหฬารแค่ในห้วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
ในประเทศจีน สาเหตุหลักมาจากการยกระดับมาตรฐานเพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นกว่าเดิมของรัฐบาลกลาง ส่งผลให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ราว 600 โรงในจีนต้องเลื่อนออกไปอย่างน้อยจนถึงปี 2020 ส่วนในอินเดียเกิดจากการที่ธนาคารในอินเดียไม่ยอมปล่อยเงินกู้ก้อนใหม่ให้กับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะสร้างใหม่ เนื่องจากเห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่จะสร้างความเสี่ยงด้านการเงินมากเกินไป ข่าวดังกล่าวยังรายงานอีกว่า การลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่หลายพันล้านเหรียญสหรัฐจะเป็นทรัพย์สินที่สร้างภาระ (stranded assets) ในอนาคตอันใกล้....
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.isranews.org/isranews-article/56532-pea56532.html
ขอขอบคุณสำนักข่าวอิศรา มา ณ ที่นี้
コメント