top of page

ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน

อัปเดตเมื่อ 1 เม.ย. 2565

ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน

โดย ศาสตราจารย์ฝางหนิง

ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการแปล

คลิกที่นี่เพื่อสั่งซื้อ


"ศาสตราจารย์ ฝางหนิง ผู้เขียนหนังสือ "ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน" เล่มนี้ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำสถาบันวิจัยรัฐศาสตร์ ภายใต้สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (CASS) เป็นอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยรัฐศาสตร์แห่งนี้ ถือเป็นนักคิดและนักปรัชญาการเมืองที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในแวดวงวิชาการจีน มีผลงานทางรัฐศาสตร์มากมาย ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีนที่ท่านเขียนถือได้ว่าเป็นหนังสือที่สะท้อนประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของตะวันตกและตะวันออก รวมทั้งย่อประวัติศาสตร์การเมืองจีนในช่วงกว่าร้อยปีมานำเสนอได้อย่างครอบคลุมและลึกซึ้ง


ในความคิดของคนส่วนใหญ่ คำว่า ประชาธิปไตย กับ จีน น่าจะไม่ใช่ของคู่กัน กลับเป็นสิ่งตรงข้ามมากกว่า คนทั่วไปมักเข้าใจว่าการปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์จะไม่มีประชาธิปไตย เพราะดูจากการที่จีนไม่มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่จีนมีกระบวนการเลือกผู้นำแบบคัดสรรตามระบบที่ตนเองออกแบบ คำถามคือ ประชาธิปไตยมีนิยามเดียวที่เป็นแบบตะวันตกเท่านั้นหรือไม่ ในความเป็นจริง หลายประเทศที่นำระบอบประชาธิปไตยไปใช้ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ล้วนต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศตน ถ้าเช่นนั้น ประชาธิปไตยในความหมายของจีนคืออะไร ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีนบอกอะไรแก่เรา และในอนาคตจีนจะเดินไปบนเส้นทางประชาธิปไตยหรือไม่และอย่างไร....."


ส่วนหนึ่งจากคำนำบรรณาธิการ



รีวิวหนังสือ "ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน" โดย นายแพทย์จำรัส สรพิพัฒน์ แกนนำเครือข่ายคนเดือนตุลาฯ จังหวัดตรัง


อ่านจบแล้วครับ ไม่ได้อ่านหนังสือหนาๆแบบนี้มานานแล้ว เป็นหนังสือที่อ่านเข้าใจยาก(สำหรับผม) ได้ทบทวนประวัติศาสตร์จีนยุคปลายระบบราชวงศ์จนถึงจีนยุคใหม่ถึงปัจจุบัน อย่างย่อ เต็มไปด้วยศัพท์นามธรรมซึ่งเขาไม่นิยามศัพท์ให้ก็เดาไม่ออกว่าความหมายที่แท้จริงหมายถึงอะไร ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาก็ยนนย่อจนนึกภาพไม่ออก นี่เริ่มด้วยการตำหนิเสียก่อนแล้ว


ความจริงน่าจะเป็นความจำกัดในความรู้ความเข้าใจของผมผู้อ่านเองมากกว่านะ โดยสรุปเขาต้องการบอกเล่าว่าจีนกำลังทดลองทางสังคมวิทยาศาสตร์เพื่อหารูปบบการปกครองของประชาชนที่เหมาะสมกับจีนโดยการวิจัยทำนองเดียวกับaction research โดยมีพคจ.เป็นผู้กำกับการ


อย่างไรก็ตามในระหว่างการอ่านก็จะเกิดคำถามผุดที่อยากจะถามหรือโต้แย้งผู้เขียนอยู่เป็นระยะ แม้ว่าจะเห็นด้วยกับผู้เขียนในประเด็นหลักใหญ่ที่มองการนำระบอบที่จะมาใช้กับสังคมหนึ่งใดว่าต้องคำนึงถึงปริบทของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม


ขั้นตอนของวิวัฒนาการทางสังคมของสังคานั้น ถ้าผิดขั้นตอนก็จะเกิดผลร้ายแทนที่จะเป้นผลดี แต่ในทางปฏิบัติบางทีก็ยากที่จะประเมินได้ว่าสังคมนั้นพร้อมไม่พร้อมจึงต้องค่อยๆแหย่เท้าคลำก้อนหินในลำธารเหยียบให้มั่นไปทีละก้าว


ผมพยายามหาข้อมูลเท่าที่ปรากฏในหนังสือก็ไม่เห็นชัดๆว่าจีนเขาคัดคนที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำอย่างไรจริงๆ ไม่รู้ว่าการเมืองภายในกลุ่มระดับนำภายในของพคจ.เขาเป็นอย่างไรจริงๆ เข้าใจว่าเขาให้ความสนใจกับการคานอำนาจ การตรวจสอบ แต่เราก็ไม่เห็นระบบการคานอำนาจหรือการตรวจสอบระดับผู้นำพรรค ยิ่งมีการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของผู้นำในปัจจุบันอีก ก็ให้สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิมอีกหรอเปล่า


ในความเห็นของผม ระบอบประชาธิปไตยจะทำงานได้ดีที่สุด ก็ในสังคมที่สมาชิกของสังคมมีความเท่าเทียมกันในระดับทางเศรษฐกิจ ความรู้และคุณธรรม สังคมใดที่สมาชิกในสังคมมีความแตกต่างกันมากในปัจจัยดังกล่าวประชาธิปไตยจะดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ยาก และอาจจะนำไปสู่ความหายนะของสังคมได้ ความระมัดระวังของจีนตามที่ผู้เขียนนำเสนอจึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ นึกขึ้นได้อีกเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนซึ่งผู้เขียนจัดเป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่ง อันนี้ไม่เห็นด้วยเลย ผมว่ามันเป็นกระบวนการล่าแม่มดมากกว่าและเป็นวิธีการกลยุทธทางการเมืองที่เหมาฯำมาใช้เพื่อรักษาอำนาจทางการเมืองของตนเองและกลบเกลื่อนความผิดพลาดในการบริหารประเทศของเขามากกว่า

ดู 84 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page